แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า ลดการหลุดร่วง กระตุ้นเส้นผมใหม่ ลดผมหงอก กำจัดรังแค ชันนตุ เหา

แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า ลดการหลุดร่วง กระตุ้นเส้นผมใหม่ ลดผมหงอก กำจัดรังแค ชันนตุ เหา
แชมพูสระผมสมุนไพรออร์แกนิค100% มีส่วนผสมของ
- อัญชัน รักษาผมแห้งแตกปลาย ทำให้เส้นผมดกดำ ลดผมหงอก
-มะกรูด ช่วยกำจัดรังแค แก้อาการคันศีรษะ จากรังแค รักษาผมร่วง
-ประคำดีควาย ลดความมันบนหนังศีรษะ กระตุ้นการเกิดเส้นผมใหม่ บำรุงรากผมให้แข็งแรง


แชมพูสระผมนพเก้า ผมสวยด้วยธรรมชาติ


ผลลัพธ์จากการใช้แชมพูสมุนไพรนพเก้าสระผมเป็นประจำ มีเส้นมผมเกิดใหม่ รากผมแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย ผมมีน้ำหนัก ดกดำเป็นเงางาม ยาวเร็ว และลดผมหงอก สีผมเข้มขึ้น

รีวิวจากผู้ใช้จริง จากผมบางจนเห็นหนังศีรษะ มีเส้นผมใหม่ขึ้นมา ทำให้ผมหนาขึัน สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้าเป็นจำนวนมาก




ต้นกำเนิดแชมพูสมุนไพรนพเก้า มาจากเจ้าของแบรนด์นพเก้าไทยแลนด์ จากจิตตั้งต้น
"ถ้าพี่ทำมันต้องดี ถ้าไม่ดีพี่ไม่ทำ"


แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า ใช้ได้ตั้งแต่เด็กเล็กถึงผู้สูงอายุ
สรรพคุณลดการหลุดร่วงเส้นผม
กระตุ้นเส้นผมใหม่ ลดหงอก
กำจัดรังแค ชันนะตุ เหา
เส้นผมดกดำเป็นเงางาม 
ช่วยล้างสารเคมี


วิธีใช้แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า
ครั้งแรกสระผมทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อล้างสารเคมี ทำความสะอาดหนังศีรษะ
หรือกำจัดเชื้อรา หมักทิ้งไว้ 5-10 นาที และไม่ต้องใช้ครีมนวดผม  หลังการใช้ 2-3 วันแรก
เส้นผมจะหนืดเหนียวไม่ต้องตกใจ  ใช้เกิน 7-10 วัน ผมกลับมานุ่มสลวยดูเป็นธรรมชาติ
และใช้ได้บ่อยเท่าที่คุณต้องการ

ใช้แชมพูสมุนไพรอย่างไรให้มีผลลัพธ์
หนังศีรษะคือผิวหนัง มีเหงื่อออก มีสิ่งสกปรกเข้าได้ มีน้ำมันใต้รูขุมขน เป็นสาเหตุทำให้เส้นผมหลุดร่วง มีรังแค การสระผมทุกวัน หรือ วันเว้นวัน อย่าเว้นเกิน 3 วัน หนังศีรษะสะอาด เป็นกระตุ้นเซลล์เส้นผมใหม่ รากผมแข็งแรง ผมร่วงน้อยมาก และไม่มีรังแค
  • ผมร่วงหนักมาก สระผมทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน
  • ผมร่วง มีรังแค ผมหงอก สระวันเว้นวัน เป็นเวลา 3 เดือน
ขนาดบรรจุ 250 ml.
ราคา 300 บาท
-------------------------------------
สนใจสั่งซื้อสินค้า>>สมัครตัวแทน>>สอบถาม
>>พูดคุย>>รับส่วนลด คลิกที่นี่ 
หรือ โทร.081-6595711



แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า ลดการหลุดร่วง กระตุ้นเส้นผมใหม่ 
ลดผมหงอก กำจัดรังแค ชันนตุ เหา


แชมพูสมุนไพรนพเก้ามีประคำดีควายมากถึง 50%


แชมพูสมุนไพรนพเก้าตอบโจทย์สุขภาพเส้นผม และหนังศรีษะ ระยะยาว สมุนไพรต้องใช้ให้เป็น 
ใช้ไม่เป็นไม่เห็นผล คลิปนี้มีคำตอบ


วิธีใช้แชมพูสระผมสมุนไพรนพเก้า
ครั้งแรกสระผมทุกวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อล้างสารเคมี ทำความสะอาดหนังศีรษะ
หรือกำจัดเชื้อรา หมักทิ้งไว้ 5-10 นาที และไม่ต้องใช้ครีมนวดผม  หลังการใช้ 2-3 วันแรก
เส้นผมจะหนืดเหนียวไม่ต้องตกใจ  ใช้เกิน 7-10 วัน ผมกลับมานุ่มสลวยดูเป็นธรรมชาติ
และใช้ได้บ่อยเท่าที่คุณต้องการ

ใช้แชมพูสมุนไพรอย่างไรให้มีผลลัพธ์
หนังศีรษะคือผิวหนัง มีเหงื่อออก มีสิ่งสกปรกเข้าได้ มีน้ำมันใต้รูขุมขน เป็นสาเหตุทำให้เส้นผมหลุดร่วง มีรังแค การสระผมทุกวัน หรือ วันเว้นวัน อย่าเว้นเกิน 3 วัน หนังศีรษะสะอาด เป็นกระตุ้นเซลล์เส้นผมใหม่ รากผมแข็งแรง ผมร่วงน้อยมาก และไม่มีรังแค
  • ผมร่วงหนักมาก สระผมทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน
  • ผมร่วง มีรังแค ผมหงอก สระวันเว้นวัน เป็นเวลา 3 เดือน
ขนาดบรรจุ 250 ml.
ราคา 300 บาท
-------------------------------------
สนใจสั่งซื้อสินค้า>>สมัครตัวแทน>>สอบถาม
>>พูดคุย>>รับส่วนลด คลิกที่นี่ 
หรือ โทร.081-6595711


เพื่อประโยชน์สำหรับทุกท่าน กรุณาศึกษาข้อมูลก่อนใช้ผลิตภัณฑ์
1.มะกรูด ประโยชน์ และสรรพคุณมะกรูดมีมากมาย ทั้งช่วยเสริมความงามและบำรุงสุขภาพ อยากรู้ว่ามะกรูดดีอย่างไรมาดูกันเลย


          มะกรูดเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ไม่ว่าจะนำมาใช้ในการทำอาหาร ช่วยบำรุงสุขภาพเสริมความงาม หรือแม้แต่นำมาปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนี้มะกรูดยังมีประโยชน์และสรรพคุณดี ๆ อีกมากมายที่ไม่ควรมองข้าม เรามาทำความรู้จักกับเจ้าพืชสมุนไพรผิวขุรขระชนิดนี้กันให้ดีขึ้นกว่าเดิมดีกว่าค่ะ พร้อมแล้วไปดูกันเลย


          มะกรูด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus x hystrix L. นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีชื่ออีกหลากหลายชื่อ อาทิเช่น มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูล ส้ม (Citrus) โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
          ลักษณะของมะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้แข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า ผลแบบส้ม (hesperitium) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3–5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัว-ท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ๆ

สรรพคุณมะกรูด กับคุณประโยชน์ทางยาที่ไม่ควรมองข้าม

          มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรโบราณที่มีคุณประโยชน์ทางยามากมาย โดยสามารถนำส่วนต่าง ๆ มาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย มะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีส่วนช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและต้านทานโรคหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งบางชนิดด้วย นอกจากนี้มะกรูดยังมีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อย่างเช่นเชื้ออีโคไล (E.coli) และซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ ช่วยบำรุงประจำเดือน ขับระดู และมักเป็นส่วนผสมสำคัญในยาสตรีต่าง ๆ อีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูดยังมีประโยชน์อีกมากมายไปดูกันเลยค่ะ

           รากมะกรูด

          - รากของมะกรูดมีรสจืดเย็น สามารถช่วยแก้อาการไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน และช่วยอาการเสมหะเป็นพิษ


           ผิวมะกรูด

          - ผิวของมะกรูดสามารถช่วยแก้อาการนอนไม่หลับได้ โดยนำผิวของมะกรูดบดรวมกับรากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม
          - เป็นยาบำรุงหัวใจ โดนนำผิวมะกรูดฝานสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาผสมกับพิมเสนหรือการบูรชงในน้ำเดือดแล้วแช่ทิ้งไว้ จากนั้นนำมาดื่ม
          - ช่วยแก้อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ โดยนำเปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ  ชงกับน้ำเดือดแล้วเติมการบูรเล็กน้อย นำมาดื่มเพื่อแก้อาการ
          - ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้องได้
          - ช่วยขับสารพิษที่อยู่ในร่างกายให้ออกมาทางผิวหนังโดยการนำผิวมะกรูดมาใช้เป็นส่วนประกอบในการอบซาวน่าสมุนไพร 


           ใบมะกรูด

          - ช่วยแก้ไอ แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด
          - ช่วยแก้อาการช้ำใน
          - ใบมะกรูดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยในการชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งและช่วยต่อต้านมะเร็งได้

           ผลมะกรูด 

          - ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ โดยการนำมะกรูดผ่าครึ่งและนำไปลนไฟให้นิ่ม แล้วค่อย ๆ บีบน้ำมะกรูดลงคอทีละนิดจะช่วยทำให้อาการบรรเทาลงได้
          - ช่วยฟอกโลหิต โดยนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม 
          - ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน โดยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้
          - ช่วยขับระดู ขับลม โดยผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทาน
          - ช่วยแก้อาการน้ำลายเหนียว 
          - แก้เถาดานในท้อง 
          - แก้ระดูเสีย ขับระดู 
          - ช่วยขับลมในลำไส้

          นอกจากนี้น้ำจากผลมะกรูดยังสามารถใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย โดยใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือกหลังแปลงฟันเสร็จจะช่วยทำให้อาการเลือดออกตามไรฟันบรรเทาลงได้


ประโยชน์ของมะกรูด สมุนไพรสารพัดประโยชน์

          มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารคาวหวานต่าง ๆ และยังนำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญอย่างเช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี น้ำของมะกรูดก็สามารถนำมาใช้แทน หรือนำมาผสมกับน้ำมะนาวเพื่อใช้ปรุงอาหารได้อีกด้วย โดยน้ำมะกรูดนั้นจะมีรสเปรี้ยวกลมกล่อมและมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ 

           มะกรูดไล่ยุง ไล่แมลง

          ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน จึงสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดที่อยู่ในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ไว้ในถังข้าวสารก็จะทำให้มอดและมดไม่ขึ้นข้าวสาร แล้วถ้าหากถูกปลิงกัดละก็ ให้นำมะกรูดมาถูตรงบริเวณที่มีปลิงเกาะจะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง นอกจากนี้มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำโดยนำเปลือกมาตากแห้งแล้วนำไปเผาไฟก็จะสามารถไล่ยุงได้  

          ในปัจจุบัน มีการนำมะกรูดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลงต่าง ๆ ซึ่งในการเกษตรก็ได้มีการนำน้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาผลิตในรูปของแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยนำไปโปรยยังบริเวณที่ต้องการไล่แมลง แล้วน้ำมันจะค่อย ๆ ซึมออกจากแคปซูล วิธีการนี้ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีลดลงเป็นผลให้พืชผลทางการเกษตรปลอดสารเคมีมากขึ้นอีกด้วยค่ะ

          มะกรูดบำรุงผม

          มะกรูดช่วยบำรุงผมให้เงางาม แก้อาการผมร่วง โดยการนำมะกรูดผ่าครึ่ง มาชโลมบนศีรษะหลังสระผมเสร็จทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออก ก็จะช่วยทำให้ผมดำเงางามและลดผมร่วงได้ หรือจะนำน้ำมะกรูดมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ก็สามารถช่วยล้างสารพิษต่าง ๆ ที่มาจากสภาพแวดล้อมได้ 


          * ผมสวยไร้รังแคด้วยมะกรูด
          สูตรนี้เหมาะสำหรับขจัดรังแค แก้คันศีรษะ ใช้หมักผมและหนังศีรษะ
          - นำมะกรูดเผาไฟให้พอมีน้ำมันซึมออกมาจากผิว และมีกลิ่นหอม แล้วนำมาผ่าครึ่ง
          - บีบน้ำมะกรูดมาชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ หมักไว้ประมาณ 15-30 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

          ผมนุ่มลื่นสลวยด้วยมะกรูด
          สูตรนี้สามารถสระแทนแชมพูได้จะทำให้ผมนิ่ม ลื่น และรักษาอาการคันศีรษะได้อีกด้วย
          - นำมะกรูดผ่าครึ่ง ต้มกับน้ำเล็กน้อย สัดส่วน น้ำ : มะกรูด คือ 2 : 1 ตั้งไฟพอเดือดยกลง ปิดฝาทิ้งไว้ จากนั้นนำมาคั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง 
          - นำน้ำมะกรูดที่ได้มาชโลมให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ ใช้ทำความสะอาดเส้นผมแทนแชมพู หรือใช้เคลือบเส้นผมแทนครีมนวดผมก็ได้
          แชมพูมะกรูดสูตร 1
          ส่วนผสม

          1. มะกรูด 3-5 ผล
          2. ใบหมี่ 10 ใบ
          3. น้ำซาวข้าวเหนียว 1 ลิตร
          วิธีทำ

          - มะกรูดผ่าตามขวางเป็นสองซีก ตั้งน้ำพอเดือด ใส่มะกรูดและใบหมี่ลงไปในหม้อที่มีน้ำซาวข้าวเหนียว
          - รอให้เดือดต่อประมาณ 10 นาที ยกลงแล้วปิดฝาทิ้งไว้รอจนเย็น
          - ใช้ผ้าขาวบางกรองเอากากออก แล้วเก็บใส่ขวดไว้ใช้สระผมแทนแชมพู
          แชมพูมะกรูดสูตร 2  
          ส่วนผสม

          1. มะกรูด 3-5 ผล
          2. หญ้าปักกิ่ง 1 ถ้วย
          วิธีทำ

          - มะกรูดผ่าตามขวางเป็นสองซีก หญ้าปักกิ่งทั้งต้นล้างน้ำให้สะอาดใช้ทั้งราก ทั้งใบ
          - ใส่มะกรูด หญ้าปักกิ่ง น้ำซาวข้าว ในหม้อตั้งไฟปานกลาง รอให้เดือดประมาณ 20 นาที ปิดฝายกลง
          - รอจนน้ำเย็น สังเกตสีของน้ำจะคล้ำขึ้น ใช้มือคั้นเอาแต่น้ำ ทิ้งกาก
          - กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง เก็บใส่ขวดไว้ใช้สระผมแทนแชมพู
           มะกรูดดับกลิ่น

          มะกรูดสามารถดับกลิ่นต่าง ๆ อย่างเช่น กลิ่นคาวของอาหารคาวหาน หรือจะเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของเท้าโดยการนำมาผสมกับขิง ข่า และเกลือในปริมาณเท่า ๆ กัน ต้มให้น้ำอุ่นแล้วแช่เท้าลงไปประมาณ 15 นาที ก็จะช่วยลดกลิ่นอับที่เท้าและช่วยคลายความเมื่อยล้าได้ มะกรูดสามารถนำมาใช้ดูดกลิ่นที่มาจากรองเท้าหรือกลิ่นที่อยู่ในตู้รองเท้าได้ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม มาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบาง เอาไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะทำให้กลิ่นต่าง ๆ หายไป 

มะกรูด มีโทษหรือไม่

          ถึงแม้มะกรูดจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ถ้าหากใช้น้ำมันมะกรูดสัมผัสกับผิวโดยตรง เมื่อไปถูกแสงแดดก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เพราะในน้ำมะกรูดมีสารออกซิเพดามิน (oxypedamin) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อโดนแสงแดด (photo toxicity) และสารดีไลโมนีน (d-limonene) ซึ่งเมื่อโดนอากาศเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย หากนำน้ำมะกรูดมาสัมผัสกับผิวแล้วละก็ ภายในสี่ชั่วโมงไม่ควรให้บริเวณที่โดนน้ำมะกรูดถูกแสงแดดค่ะ

          เห็นไหมล่ะคะว่ามะกรูดเจ้าพืชสมุนไพรผิวขรุขระนี้มีประโยชน์มากแค่ไหน แถมกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของมันยังสามารถนำมาทำประโยชน์ได้อีกมากมาย ถ้าหากใครที่กำลังสนใจจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสมุนไพรก็ไม่ควรพลาดผลิตภัณฑ์จากมะกรูดเลยล่ะ เพราะนอกจากจะเป็นสมุนไพรไทย ๆ แล้ว ยังมีราคาไม่แพงด้วยนะ รับรองว่าใช้แล้วจะติดใจแน่นอนเลยจ้า

2.ดอกอัญชัน สรรพคุณชั้นเลิศ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ มาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้น ดูสิว่าประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้างนะ

ดอกอัญชัน

          ดอกอัญชัน ดอกไม้สีม่วงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมาก หลายคนคงจะเคยได้ยินสรรพคุณของเจ้าดอกอัญชันกันมาบ้างแล้ว ที่เห็นกันชัดเจนก็คงจะเป็นการนำอัญชันมาถูคิ้วเด็กเล็ก ๆ เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้คิ้วดกดำขึ้น หรือแม้แต่คุณประโยชน์ในการนำสีของดอกอัญชันมาใช้ในการทำอาหารหรือขนมต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วดอกอัญชันมีประโยชน์อีกมากมายหลายอย่างเลยล่ะค่ะ อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะว่า เจ้าดอกเล็ก ๆ สีม่วงนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

รู้จักดอกอัญชัน 

          ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับสรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน เรามาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้นหน่อยดีกว่าค่ะ เผื่อใครที่ยังไม่รู้จักเวลาไปเห็นที่ไหนจะได้ทราบกันค่ะ อัญชัน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Butterfly pea, Blue pea, หรือ Asian pigeonwings มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clitoria ternatea L. เป็นพืชตระกูลถั่ว (Fabaceae) อยู่ในวงศ์ Leguminosae เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยทั่วไปนิยมปลูกในเขตร้อน อัญชันเป็นพืชล้มลุก

          ลักษณะต้นเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบ ดอกอัญชันเป็นดอกเดี่ยว มีสีน้ำเงินเข้มหรือน้ำเงินอมม่วง และสีขาว ดอกชั้นในแบ่งเป็น 5 กลีบ กลีบนอกมีสีเขียว มีผลเป็นฝัก ลักษณะแบนคล้ายฝักถั่ว ขนาดยาวประมาณ 5-10 ซม. ดอกอัญชันมีชื่อเรียกตามท้องถื่นที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น ในภาคเหนือจะเรียกดอกอัญชันว่า เอื้องชัน แต่ในจังหวัดเชียงใหม่จะเรียกว่าแดงชัน

 สรรพคุณดอกอัญชันอันน่าทึ่ง

          ดอกอัญชันมีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยในดอกอัญชันนั้นมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่าแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสารชนิดนี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น แก้อาการตาฟาง ตามัว หรือภาวะการเสื่อมของดวงตาที่มาจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น

          แถมยังมีฤทธิ์ต้านการออกซิเดชั่นของไขมัน ชะลอการเกิดโรคที่เกิดจากคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) อุดตันในหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวอีกด้วย และคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ดอกอัญชันนั้นยังช่วยยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ


 แต่ใช่ว่าดอกอัญชันจะมีสรรพคุณเพียงเท่านี้ ไปดูกันต่อเลยว่าสรรพคุณที่เหลือมีอะไรกันบ้างค่ะ

รากอัญชัน

          - นำมาปรุงเป็นเป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายได้
          - แก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง โดยการนำรากมาถูที่ฟัน
          - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น โดยนำรากไปถูกับน้ำฝน แล้วนำมาที่หยอดตาและหู

ใบอัญชัน

          - ช่วยขับปัสสาวะ
          - ช่วยบำรุงสายตาและอาการตาแฉะได้

ดอกอัญชัน

          - ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังทำให้ร่างกายมีแรงขึ้น
          - สารต้านอนุมูลอิสระในดอกอัญชันช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
          - ช่วยบำรุงสมอง
          - ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
          - ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
          - ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
          - ช่วยล้างสารพิษและขับของเสียออกจากร่างกาย
          - แก้อาการปัสสาวะพิการ
          - แก้อาการฟกช้ำ
          - ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า

ประโยชน์ของดอกอัญชัน ที่ใช้กันแพร่หลาย

          นอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว ดอกอัญชันยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำสีจากดอกอัญชันไปผสมอาหารและขนมให้มีสีสันสวยงาม การนำดอกสดมารับประทานเป็นเครื่องเคียงคู่กับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ นำมาต้มดื่ม หรือนำไปปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามรั้ว แต่ที่สำคัญที่สุดก็คงเป็นการนำมาใช้บำรุงผมให้ดกดำเงางาม และรักษาอาการผมร่วงหรือผมบางได้อีกด้วยล่ะค่ะ

ดอกอัญชัน สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม
การทำน้ำดอกอัญชัน

ส่วนผสม

          - ดอกอัญชัน 100 กรัม
          - น้ำสะอาด 2 ถ้วย
          - น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

          - นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด แล้วไปต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม
          - นำน้ำดอกอัญชันที่ได้ผสมน้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ และเมื่อทำเสร็จควรรีบดื่มให้หมดเพื่อให้ได้สารอาหารที่มีคุณค่า

พันช์น้ำดอกอัญชัน

ส่วนผสม

          - โซดาแช่เย็น 1 ขวด
          - น้ำดอกอัญชัน 1/2 ถ้วย
          - น้ำเชื่อม 6 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมะนาว  1/2 ถ้วย

วิธีทำ
          - นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง และน้ำมะนาวผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามใจชอบแล้วเติมโซดา ชิมและปรับรสชาติตามชอบ
          - เสิร์ฟโดยการเติมน้ำแข็งเกล็ดละเอียดลงในแก้ว

ดอกอัญชัน สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม

อาหารสีสวยด้วยอัญชัน

          สารแอนโทไซยานินในดอกอัญชัน เป็นสารที่มีสีม่วงคราม และเป็นสีที่ละลายได้ในน้ำ และไม่คงตัวไม่ละลายในกรด ทำให้คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณนิยมนำสีจากดอกอัญชันมาผสมในอาหารและขนมต่าง ๆ เพื่อให้มีสีสันสวยงาม โดยหากนำมาผสมในขนมหรืออาหารจะได้สีน้ำเงิน แต่หากบีบน้ำมะนาวลงไปด้วยสีที่ได้จะกลายเป็นสีม่วงแดงค่ะ

คิ้วดกดำด้วยอัญชัน

ส่วนผสม

          - ดอกอัญชัน ประมาณ 6 ดอก
          - น้ำสะอาด 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

          - นำดอกอัญชันมาคั้นหรือขยี้ให้ได้น้ำ ระหว่างคั้นเติมน้ำลงไปประมาณ 1 ช้อนโต๊ะเพื่อจะได้คั้นง่ายขึ้น จากนั้นแยกกากออกกรองเอาแต่น้ำ
          - ใช้คอตตอนบัดจุ่มน้ำอัญชันที่ได้ แล้วนำมาทาบริเวณคิ้วทั้งหมด ทาทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นล้างออก ทำซ้ำบ่อย ๆ ก็จะทำให้คิ้วหนาและดกดำขึ้นได้


อัญชันหมักผม

 ผมสวยด้วยอัญชัน

ส่วนผสม

          - ดอกอัญชัน 7 – 8 ดอก
          - น้ำสะอาด 1 ถ้วย

วิธีทำ

          - เลือกเอาเฉพาะกลีบของดอกอัญชันมาบดแล้วรวมกับน้ำสะอาดตามด้วยน้ำเปล่า บดจนละเอียดแล้วกรองโดยใช้ผ้าขาวบางแยกเอากากออกให้เหลือเพียงแต่น้ำ
          - นำน้ำดอกอัญชันที่ได้มาหมักผมทิ้งไว้ 15–20 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากทำบ่อยก็จะทำให้ผมดกดำและเป็นเงางาม แถมยังช่วยให้ผมยาวเร็วได้อีกด้วยค่ะ

ปลูกผมด้วยอัญชัน

ส่วนผสม


          - ดอกอัญชัน 10 ดอก
          - เหล้าขาว

วิธีทำ

          - นำดอกอัญชันแช่ลงในเหล้าขาวสักครู่
          - ขยี้ดอกอัญชันผสมกับเหล้าขาวที่แช่ไว้จนเข้ากัน จากนั้นนำมาชโลมศีรษะทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง แล้วล้างออก
          - ทำซ้ำบ่อย ๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์จะเริ่มเห็นผล

          นอกจากสูตรการบำรุงผมด้วยดอกอัญชันที่บอกกันไปแล้ว ในปัจจุบันก็ได้มีการนำดอกอัญชันมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างเช่น แชมพู ครีมนวดผม และครีมหมักผมต่าง ๆ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้มากขึ้น และยังมีการนำดอกอัญชันไปตากแห้ง แล้วนำมาชงดื่มเป็นชาบำรุงสุขภาพอีกด้วย ซึ่งก็แล้วแต่คนจะเลือกว่าอยากจะใช้แบบดอกสดหรือแบบแห้ง เพราะทั้งสองอย่างก็ได้ประโยชน์ทั้งคู่เลยค่ะ

ดอกอัญชัน

โทษของดอกอัญชันและข้อควรระวัง

          แม้ว่าดอกอัญชันจะเป็นสมุนไพร แต่ก็ยังมีโทษถ้าหากใช้มากเกินไปค่ะ โดยอย่าดื่มน้ำอัญชันที่มีสีเข้มมากเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นในการขับสารสีจากอัญชันออกมา และผู้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรจะรับประทานดอกอัญชันรวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของอัญชันด้วย เพราะในดอกอัญชันนั้นมีสารที่มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจางได้ค่ะ

          สมุนไพรอย่างดอกอัญชัน นอกจากจะมีสีที่สวยแปลกตาแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่หาง่ายอีกด้วยนะคะ และเราสามารถปลูกได้เองที่บ้าน แต่ก็ควรใช้ให้พอดี เพราะสมุนไพรทุกชนิด ใช้มากเกินไปก็เป็นโทษได้เช่นกัน ถ้าใครกำลังหนักใจกับคิ้วที่บางเกินไป หรือผมที่ไม่ดกดำนุ่มสลวย ลองมองหาดอกอัญชันแถว ๆ บ้าน แล้วนำมาใช้ดูนะคะ รับรองว่าปัญหาเหล่านั้นจะหมดไปแน่นอนเลยค่ะ


3.มะคำดีควายหรืออีกชื่อหนึ่งที่เราจะคุ้นหูมากกว่าก็คือ ประคำดีควาย แต่อันที่จริงสมุนไพรทั้งสองชนิดเป็นคนละชนิดกัน เพียงแต่ว่าอยู่ในตระกูลพืชเดียวกันเท่านั้น นั่นก็คือ พืชตระกูลเงาะ นั่นเอง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall.
ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree
วงศ์ : Sapindaceae

ชื่อเรียกของมะคำดีควายในแต่ละท้องถิ่น

ภาคเหนือ เรียกว่า มะซัก ส้มป่อยเทศ ชะแซ
ภาคกลาง เรียกว่า ประคำดีควาย

ลักษณะของมะคำดีควาย

ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดปานกลาง มีความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาล 
ใบ : คล้ายขนนนก ส่วนปลายและโคนใบจะมน มีสีเขียว 
ดอก : ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนปลายของกิ่ง ดอกมีสีขาวหรือเหลืองนวล 
ผล : มักจะออกเป็นพวงรวมกัน ผลค่อนข้างกลม เมล็ดจะเป็นสีดำมีเปลือกหุ้มอยู่อีกที

สรรพคุณของมะคำดีควาย

  1. เปลือก ช่วยรักษาอาการแก้ไข้ แก้พิษ มีฤทธิ์เป็นยาแก้กษัย รักษาอาการเป็นฝีอักเสบและฝีหัวคว่ำ
  2. ผล รักษาอาการปากเปื่อย รักษาอาการไข้ ตัวร้อน รักษาอาการอีสุกอีใส รักษาอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่าย แก้อาการไข้เซื่องซึม รักษาอาการหอบ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการเป็นหวัด คัดจมูก
  3. ราก ช่วยในการดับพิษต่างๆ รักษาอาการของโรคริดสีดวง รักษาอาการเกิดฝีในท้อง รักษาอาการหอบหืดและรักษาอาการไอ
  4. ดอก ช่วยรักษาอาการผดผื่นคันตามผิวหนัง ยอดอ่อน รักษาอาการถ่ายไม่ออก
  5. เมล็ด มีฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิ เป็นยาระบายทำให้เกิดอาการท้องเสีย

<< การนำมะคำดีควายไปใช้เป็นยารักษาโรค >>

  1. รักษาอาการท้องผูก โดยการรับประทาน ใบอ่อนหรือเมล็ดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
  2. รักษาโรคผิวหนัง โดยนำเมล็ด สามารถใช้ได้ทั้งเมล็ดสดและแห้ง มาทำการตำให้ละเอียด แล้วนำไปพอกบริเวณผิวหนังหรืออาจใช้ผสมกับน้ำแล้วนำไปล้างบริเวณผิวหนังที่เป็นอาการ
  3. รักษาโรคชันนะตุ คืออาการที่หนังศีรษะเกิดเป็นแผลพุพอง โดยนำผลประมาณ 5 ผล มาแกะเอาเฉพาะเนื้อ แล้วเอาไปต้มกับน้ำปริมาณ 1 ถ้วย ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุทุกเวลาเช้าและเย็น หรืออาจจะใช้เนื้อจากผลเพียงครั้งละผล มาผสมกับน้ำเพื่อสระผม โดยสระวันละครั้งจนกว่าจะหาย
  4. รักษาอาการหอบหืดและดับพิษทุกชนิด โดยใช้ผลแห้งไปคั่วกับไฟให้ไหม้เกรียมแล้วรับประทาน      

การนำมะคำดีควายไปใช้เกี่ยวกับการดูแลหนังศีรษะและเส้นผม >>มะคำดีควายเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เติบโตได้ตามภูเขา หรือปลูกในพื้นที่ทั่วไปได้ ปกติมะคำดีควายที่มีอยู่ปัจจุบัน เติบโตเองตามธรรมชาติ ยังเห็นอยู่ตามข้างทาง ชายทุ่ง ไร่นา หรือในป่า จะออกดอกและเป็นผล เมื่อผลแห้ง เปลือกของมะคำดีควายในสมัยโบราณนิยมนำมาสระผม เมื่อทุบเอาแต่เปลือก แกะเมล็ดออก ขยี้เปลือกให้ละเอียดจะเกิดฟองสามารถใช้หมักผมได้ หรือนำมาขัดผิว ช่วยบำรุงเส้นผมและป้องกันโรคที่เกิดบนศรีษะได้

จากการทดลองด้วยการทาสารสกัดเอทานอลของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้นร้อยละ 2 พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และการใช้แชมพูจากสารสกัดของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้น 6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าจะช่วยทำให้เส้นผมสะอาดและช่วยลดอาการคันบนหนังศีรษะ สารสำคัญที่พบได้แก่ ß-Sitosterol, Emarginatoside, Quercetin, Quercetin-3-a-A-arabofuranoside, O-Methyl-Saponin

มะคําดีควาย
สรรพคุณและการนำไปใช้
  • สาร Saponin จะมีความเป็นกรดเล็กน้อยและช่วยทำความสะอาดหนังศีรษะโดยไม่ทำลายไขมันที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
  • ช่วยขจัดรังแค เซลล์ที่ตายแล้ว และช่วยสร้างเซลล์ใหม่
  • ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์สครับผิว แชมพู
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
lasik-healthyforeyes.blogspot.com
foodnetworksolution.com